ธรรมชาติได้สร้างสรรค์สมองขึ้นมาอย่างน่าทึ่ง ซึ่งบรรดานักวิทยาศาสตร์ต่างก็ให้ความสนใจและคอยศึกษามาโดยตลอดและในวันนี้ครับเราจะพาคุณมาพบกับ เรื่องจริงเกี่ยวกับสมองและความจำ ที่คุณอาจไม่เคยรู้
บทความที่คุณอาจสนใจ
เรื่องที่ 5 ความทรงจำแรกไม่ใช่เรื่องจริง (False First Memory)
มีศึกษากลุ่มตัวอย่าง 6,600 คน ในช่วงอายุ 9-12 เดือน ซึ่งพบว่าสิ่งที่พวกเขาเรียกว่าความทรงจำ ส่วนใหญ่แล้วเป็นคำบอกเล่าจากคนในครอบครัว เมื่อโตขึ้นทุกคนต้องเคยเล่นกับเด็กทารก จากนั้นสมอง จะเอาข้อมูลทั้งสองอย่างนี้มารวมกันโดยเจตนาการสร้างภาพชุดของตัวเองในสมัยที่ยังเป็นเด็กทารก จินตนาการ ว่าทุกอย่างคือเรื่องจริงทั้งๆในความเป็นจริง เด็กกทารกไม่จำอะไรได้เลย
เรื่องที่ 4 ความจุอันน่าเหลือเชื่อของสมอง
ในปี 2016 มีการวิจัยได้นำเนื้อเยื่อของสมองหนูมาศึกษาทั้งในแง่ของขนาดและการทำงานของระบบประสาททำให้พวกเขาพบว่าเซลล์ประสาทมีวิธีการที่แตกต่างกัน 26 วิธีในการใส่ข้อมูลลงไปสมอง และพบว่าสมองมนุษย์สามารถเก็บข้อมูลได้ถึง 1 PT หรือ 1024 TB ซึ่งถือได้ว่าเยอะมากๆ
เรื่องที่ 3 การเรียนรู้ขณะนอนหลับ (Hypnopedia)
ในช่วงปี 1950 เคยมีการโต้แย้งว่าสมองมนุษย์ไม่สามารถจดจำอะไรได้ในขณะนอนหลับแต่ว่าทฤษฎีสมัยใหม่กับไม่เห็นด้วยและยืนยันว่า hypnopedia นั้นมีอยู่จริงยกตัวอย่างงานวิจัยในปี 2017 ที่ได้มีการให้อาสาสมัครเรียนภาษาสเปน
ในขณะที่นอนหลับซึ่งเป็นการให้ฟังเสียงภาษาสเปนที่มีความถี่คงที่ ทำแบบนี้ซ้ำไปซ้ำมาเรื่อยๆเมื่อเสร็จสิ้นกระบวน ถึงอาสาสมัครเหล่านี้จะพูดภาษาสเปนไม่ได้ แต่พวกเขาก็สามารถระบุแพทเทิร์นภาษาได้อย่างชัดเจนซึ่งกลายเป็นหลักฐานยืนยันว่าสมองของมนุษย์สามารถเรียนรู้ได้ในขณะนอนหลับ
เรื่องที่ 2 เคล็ดลับการจำ
เคล็ดลับการจำมี 2 วิธี อย่างแรกคือการให้เขียนออกมาเป็นตัวอักษรและ อย่างที่สอง คือการเอาคำศัพท์ที่ว่านี้มาว่ามาเขียนเป็นภาพ ซึ่งการจำรูปภาพวาด สมองจะจดจำได้ดีกว่า รูปแบบตัวอักษร เพราะการจำรูปภาพวาด สมองจดจำข้อมูลที่ใส่เข้าไปในมุมมองที่หลากหลายมากกว่า
เรื่องที่ 1 ความหวังในการรักษาโรคอัลไซเมอร์
ความหวังในการรักษาโรคอัลไซเมอร์โรคอัลไซเมอร์หรือภาวะสมองเสื่อมนั้นจะมีผู้ป่วยเพิ่มขึ้น 1 คนในทุกๆ 8 วินาทีและคาดว่ามีผู้ป่วยจากทั่วโลกประมาณ 50 ล้านคนซึ่งบรรดาแพทย์และนักวิทยาศาสตร์ต่างพยายามค้นคว้าหาวิธีรักษาโรคนี้มาโดยตลอดจนกระทั่งในปี 2015 นักวิทยาศาสตร์ชาวออสเตรเลียได้ค้นพบความหวังในการรักษาโรคนี้
โดยการใช้คลื่นอัลตร้าซาวด์ทดลองกับหนูเพื่อกำจัดคราบโปรตีนที่มีชื่อว่า แอมีรอยด์ที่เป็นสาเหตุหลักของภาวะสมองเสื่อมออกไปซึ่งหลังจากการทดลองพบว่า 75% ของหนูที่นำมาทดลองการทำงานของสมองในส่วนที่เกี่ยวข้องกับความทรงจำมีการฟื้นตัวกลับมาได้อย่างปลอดภัยและอยู่ในเกณฑ์ที่ดีมากๆและการทดลองที่ว่านี้ถูกเรียกว่าเป็นอย่างมีความหวังในการรักษาผู้ป่วยอัลไซเมอร์ให้หายขาดได้จริงในอนาคต
Pingback: 5 เกร็ดความรู้ ที่ซ่อนอยู่ในสัตว์ใกล้ตัว - Rooyoe