ขมิ้น มีประโยชน์และ สรรพคุณป้องกันโรค หลายอย่าง ไม่ว่าจะเป็น ช่วยรักษาระบบทางเดินหายใจที่มีอาการผิดปกติ ช่วยกำจัดสารพิษออกจากร่างกาย ช่วยรักษาโรคความดันโลหิตสูง ช่วยชะลอวัย และ ยังมีสรรพคุณอีกมากหมาย
ขมิ้นช่วยรักษาโรคความดันโลหิตสูง
ขมิ้นชัน มีชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า Curcuma longa L มีฤทธิ์ช่วยควบคุมภาวะไขมันในเลือดสูง และยังสามารถ ช่วยลดไขมัน LDL หรือไขมันเลว ซึ่งเป็นไขมันที่อันตรายต่อร่างกายลงได้ แล้วยังช่วยเพิ่มไขมัน HDL หรือไขมันดีให้มากขึ้นได้ด้วย ดังนั้นจึงเท่ากับว่าสามารถลดปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจไปในตัวได้ด้วย
ขมิ้นชันสรรพคุณป้องกันโรค
- ขมิ้นชัน อาจมีบทบาทช่วยป้องกัน การเกิดโรคมะเร็ง เช่น โรคมะเร็งลำไส้ มะเร็งปากมดลูก
- ขมิ้นชัน มีส่วนช่วยรักษาโรคความดันโลหิตสูง
- ขมิ้นชัน ช่วยรักษาระบบทางเดินหายใจ ที่มีอาการผิดปกติ
- ขมิ้นชัน ช่วยบำรุงสมอง ป้องกัน โรคความจำเสื่อม
- ขมิ้นชัน ช่วยรักษาโรคกระเพาะอาหาร
วิธีการกินขมิ้นชัน
มีการศึกษาพบว่าถ้าเรากินขมิ้นชัน ตามเวลาที่อวัยวะต่างๆทำงานจะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพของขมิ้นชันได้มากขึ้น โดยวิธีกินขมิ้นชัน ควรกินขมิ้นชัน ตามเวลาต่อไปนี้ตามการรักษา
เวลา 07.00-09.00 น. ช่วงเวลาของกระเพาะอาหาร ช่วยลดอาการท้องอืด ท้องเฟ้อ จุกเสียด แน่นท้อง บำรุงสมอง ป้องกันโรคความจำเสื่อมได้อีกด้วย
เวลา 09.00-11.00 น. ช่วงเวลาของม้าม ช่วยแก้ปัญหาเรื่องน้ำเหลืองเสีย มีแผลบริเวณปาก บรรเทาอาการของโรคเบาหวาน โรคเกาต์ การอ้วนเกินไปหรือผอมเกินไป
เวลา 11.00-13.00 น. ช่วงเวลาของหัวใจ ช่วยบำรุงหัวใจให้มีสุขภาพแข็งแรงเวลา 15.00-17.00 น. ช่วงเวลาของกระเพาะปัสสาวะ ช่วยบำรุงหูรูดกระเพาะปัสสาวะให้แข็งแรง แก้อาการตกขาว และการทำให้เหงื่อออกในช่วงเวลานี้จะช่วยทำให้ร่างกายขับสารพิษออกไปจากร่างกายได้มาก
เวลา 17.00 น. จนถึงเวลาเข้านอน การรับประทานขมิ้นในช่วงนี้จะช่วยทำให้ความจำดีขึ้น เมื่อตื่นนอนจะไม่อ่อนเพลีย การขับถ่ายก็จะดีขึ้นด้วย
การหาซื้อ ขมิ้น มากินเองไม่ว่าจะอยู่รูปแบบของบรรจุภัณฑ์แบบใหนควรควรจะซื้อจากแหล่งผลิตที่ได้มาตรฐาน มีความสะอาดปลดภัยไร้สารเคมี และในกระบวนการผลิตนั้นต้องไม่ผ่านความร้อนเกิน 65 องศา เพื่อคงคุณภาพของขมิ้น
ซึ่งประโยชน์ของขมิ้นชันนั้นมีมากมายซึ่งเราคัดมาเป็นบางส่วนเท่านั้น ขมิ้นชันยังมีประโยชน์อีกมากหใมายที่เราไม่ได้ยกมาในบทความนี้ติตามแหล่ง ความรู้รอบตัว หรืออ่านเรื่อง มะขามป้อมสรรพคุณต้านมะเร็ง ได้ทางเว็บรู้เยอะดอทคอม
แหล่งข้อมูล : Medthai
Pingback: ยางรถยนต์ ใช้ได้กี่ปี? และตอนไหนควรเปลี่ยน - Rooyoe
Pingback: มารู้จักความแตกต่างของกาแฟแต่ละแบบเวลาสั่งจะได้ไม่พลาด - Rooyoe
Pingback: ชาเขียวช่วยปรับปรุงการทำงานของสมอง - Rooyoe